ตักบาตรข้าวหลามจี่หนองโน สระบุรี
เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน ยี่มาถึงประเพณีที่ชาวหนองโนทำมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายนั้นก็คือ งานประเพณีตักบาตรข้าวหลามจี่ ก็ได้เริ่มขึ้น
ผมอยู่สระบุรีเสียนานไม่เคยได้ไปร่วมตักบาตรข้าวหลามจี่ นี้เลย ฟังชื่อก็แปลกอยู่แล้วนะครับ เคยได้ยินแต่ตักบาตรข้าวสวยธรรมดา แต่นี้เป็นตักบาตรข้าวหลามจี่
1/30 กม 10 ข้าวหลามจี่ปี55
ปีนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโนได้จัดมาเป็นครั้งที่ 10 มีขึ้นในวันที่ 8 และ 9 มกราคม 2555 ปีนี้ ผมไม่พลาด ผมเลยออกจากสี่แยกเสาไห้
ตรงไปแล้วไปซ้ายตรงแยกไฟแดงโรงเรียนเสาไห้ วิมลวิทยานุกูล ไม่กี่กิโลก็ถึงอบต.หนองโน ชาวบ้านตำบลหนองโนเขาเตรียมงานตั้งแต่เช้าแล้ว
ขบวนเกวียนข้าวหลามได้ถูกตั้งไว้ที่ถนนรอประธานพิธีเปิดงานเท่านั้น งานนี้เป็นงานใหญ่ ชาวหนองโนร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานนี้โดยเฉพาะ
สำหรับผมแล้วเคยเห็นแต่ป้ายโฆษณางานกันทุกปี พลาดทุกปี
2/30 เกวียนข้าว
ปีนี้มีเกวียนข้าวของแต่ละหมู่บ้านมาร่วมงานกันครบ จะเรียงกันตั้งแต่หมู่บ้านที่ 1 จนถึง หมู่ 11 เกวียนแต่ละเล่มประดับประดาด้วยธงผ้าและกระดาษแก้ว
อย่างปรานีตสวยงาม ที่เห็นเป็นสูงเด่นน่าจะเป็นต้นสลากภัต มีร่มสีสรร สดุดตา เกวียนแต่ละเล่มเป็นตัวแทนแสดงถึงบรรทุกสิ่งของที่จะนำมาตักบาตรถวายพระ
ชึ่งนั่นก็รวมถึงข้าวหลามจี่นี้ด้วย สังเกตการแต่งการของชาวบ้านจะแต่งกลายคล้ายชาวเหนือ แน่นอนครับเป็นเอกรักษ์ของไท-ยวน ถิ่นนี้เป็นถิ่นชุมชนไท-ยวน
ดังนั้นประเพณีตักบาตรข้าวหลามจี่นี้ก็เป็นประเพณีของชาวไท-ยวน อาจจะแปลกไปที่มาอยู่ที่สระบุรี
3/30 ผู้เฒ่าตรวจตรา
งานนี้มีประกวดเกวียนสวยงามด้วย ผู้เฒ่าของแต่ละหมู่บ้านก็ต้องเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ
4/30 เต็มเกวียน
ต้นสลากภัต แสดงถึงข้าวของ เครื่องอุปโภคบริโภคที่บรรทุกมาเต็มเกวียนเพื่อไปตักบาตรและถวายวัด คนเฒ่าคนแก่เล่าว่าสมัยก่อนจากบ้านไปวัดก็ไกลอยู่พอสมควร
ชาวบ้านจะรวบรวมสิ่งของบรรทุกไปในเกวียนแล้วใช้วัวเทียมเกวียนขนไปที่วัดพร้อมๆกัน จึงเป็นต้องเทียมเกวียนก่อนการเปิดงานตักบาตรข้าวหลามจี่ของแต่ละทุกปี
5/30 เดิน
งานนี้ทุกคนในตำบลมีส่วนร่วมกันหมด ไม่เว้นแต่เด็กนักเรียนกลุ่มนี้ ชึ่งมีหน้าที่ถือตุง หรือธงต่างๆ ยิ้มแย้มกันทั่วหน้าครับ
6/30 แม่เฒ่า
ขบวนเกวียนของแต่ละหมู่บ้านเริ่มออกเดินทางสู่งานพิธี ชาวบ้านก็ทยอยเดินร่วมในขบวนนี้ด้วย สองผู้เฒ่าคู่นี้เป็นชาวบ้านบ้านหนองโนนเหนือเดิน
จับมือกันเข้าร่วมงานเพื่อจะได้เห็นบรรยากาศเก่าๆครั้งเมื่อสาวๆได้ร่วมตักบาตรข้าวหลามจี่กันมาทุกปี (นายฮ้อยบรรยายเองเด้อ...)
7/30 ไท-ยวน
อาจจะมีข้อสงสัยกันว่าทำไมที่นี้จึงมีการตักบาตรข้าวหลามจี่กัน จากกระทู้ http://www.fotobug.net/forum/thread-936-1-1.html
ที่เคยนำเสนอตลาดน้ำบ้านต้นตาลที่เป็นวัฒรธรรมของชาวไท-ยวน ที่นี้ก็เช่นกันครับเพราะเขตที่อำเภอเสาไห้และหนองโนก็ชุมชนชาวไท-ยวนเหมือนกัน
ชึ่งพื้นเพคนหนองโนอพยพย้ายถิ่นมาจากโยนก คนไท-ยวนจะกินข้าวเหนียวเป็นหลัก พอถึงฤดูหนาวที่มีอากาศหนาวมากชาวบ้านก็จะก่อไฟเพื่อบรรเทาคลายหนาว
และได้นำข้าวเหนียวนี้ชึ่งเก็บเกี่ยวมาใหม่ๆมาทำข้าวหลามกินกันด้วย ชาวไท-ยวนชึ่งเป็นพุทธศาสนิกชน
เมื่อครั้งมีข้าวหลามก็ได้นำข้าวหลามนี้ไปตักบาตรถวายพระในตอนเช้าด้วยเช่นกัน จึงเป็นที่มาของประเพณีดังกล่าวนี้
8/30 อบต.หนองโน
ครับเมื่อขบวนเกวียนเคลื่อนเข้าสู่สนามกลางอบต. ชึ่งมีพื้นที่จัดงามกว้างใหญ่รองรับแขกจำนวนมากได้เป็นอย่างดี
งานนี้ทางอบต. ได้ประชาสัมพันธ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองสระบุรีเลยก็ว่าได้
9/30 กลองยาว
ขบวนกลองยาวบรรเลงสร้างความความคึกครื้นได้เป็นอย่างดี ชึ่งไม่ใช่อื่นไกลเป็นเด็กๆจากโรงเรียนบ้านหนองโนใต้ ลูกๆหลานๆชาวไท-ยวนนี้เอง
10/30 ฟ้อนรำ
ก่อนนายอำเภอชึ่งเป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีจะเปิดงาน สาวงามชาวไทย-ยวนได้ฟ้อนรำต้อนรับก่อนเริ่มงานพิธี
คงจำน้องๆกลุ่มนี้ได้ดีนะครับ เพราะน้องๆกลุ่มนี้จะไปฟ้อนรำที่ตลาดต้าน้ำบ้านต้นตาลทุกวันอาทิตย์
ถ้าใครยังไม่ได้ไปก็เรียนเชิญที่อำเภอเสาไห้ครับ เริ่มการแสดงเที่ยงตรง
ว่าแต่ภาพชุดนี้ลองใช้เลนส์ไวด์ที่ f11 เห็นพี่ cerfiro บอกมาว่าไอ้ตัวนี้ชัดที่ f11 เลยใช้ตลอดงานเลย แต่ก่อนใช้แค่ f8
กลายเป็นเก็บรายละเอียดมาชะหมดเลย เป็นเม็ดๆอย่างที่เห็น ท้องฟ้านี้เข้มเต็มสูตร สู้เม็ด 7D ของพ่อหมีได้เลย
11/30 เปิดงาน
งานนี้ พิธีเปิดอลังการจนนายอำเภอยกนิ้วให้เลย ซ๊อตนี้มีเรื่องเล่านิดหนึ่งครับ เพราะงานนี้มีสื่อมวลชลท้องถิ่นมาทำข่าวกันเยอะ
และมีการถ่ายทำวีดีโอด้วย ผมเดินไปทับไลน์เขานะสิครับ เกือบแย่อยู่เหมือนกัน ภาพที่ได้ภาพนี้เลยเป็นมุมเงยชะส่วนใหญ่
มุมปกติให้ทางทีมงานหลักเขาเอาไปครับชะ แต่ก็โชคดีนะที่ผมนั่งทำมุมเงยเลยได้ภาพท้องฟ้ามาครบ...ฮาๆๆ(ปลอบใจตัวเองชะงั้น)
12/30 โคมไฟ...ไม่ลอย
ในงานได้จุดโคมไฟร่วมพิธีเปิด แต่เนื่องจากลมแรงมากจึงควบคุมการจุดโคมไม่ได้
บางโคมไหม้ไปก่อนจะขึ้นสู่ท้องฟ้า เลยยกเลิกไปหลายดวง แหมถ้าเป็นกลางคืนน่าจะสวยกว่านี้นะ
13/30 การละเล่น
ที่สนุกสนานก็เป็นเด็กๆเพราะมีลานการละเล่นของเด็กๆสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นม้าก้านกล้วย วิ่งกะลา
หรือว่าเล่นมอญซ่อนผ้า เด็กสมัยนี้คงได้แต่ยืนชมยังไม่มีโอกาสได้เล่นกัน
14/30 หัวขบวน
ครั้งเมื่อได้เวลาที่พระสงฆ์มารับบิณฑบาตร ชึ่งจะนำขบวนด้วยเกวียนโบราณที่มีชายฉกรรที่เป็นตัวแทนวัวเทียมเกวียน
บนเกวียนจะมีบาตรขนาดใหญ่เพื่อให้พุทธศาสนิกชนโยนข้าวหลามใส่บาตรกันคล้ายๆการตักบาตรลูกโยน งานนี้ต้องใช้ฝีมีกันหน่อยนะ
15/30 โยนข้าวหลาม
งานนี้ต้องแม่นอยู่พอสมควร จะสังเกตว่าข้างหลามที่เตรียมไว้ตักบาตรนี้จะพร้อมรับประทานคือ
ได้แกะเปลือกไม้ไผ่ออกเรียบร้อยแล้วและบรรจุถุงอย่างดี ถ้าโยนแล้วไม่เข้าบาตรก็จะมีลูกวัดคอยเก็บอีกทีหนึ่ง
16/30 ตักบาตรข้าวหลาม
สำหรับการตักบาตรกับพระสงฆ์ก็จะมีทั้งข้าวหลาม ทั้งสิ่งอุปโภคอื่นๆ ชึ่งมีพระสงฆ์ถึง 85 รูปด้วยกัน
ได้ทั้งบุญด้วยและได้สืบสานประเพณีเก่าแก่ให้คงอยู่เช่นกัน
17/30 ภารกิจพ่อลูกอ่อน
งานประเพณีตักบาตรข้าวหลามจี่มีอยู่ด้วนกัน 2 วันวันแรกมีพิธีเปิด มีการละเล่น การแสดงมากมาย และมีการแสดงสินค้า OTOP
ส่วนวันที่สองกลางคืนจะมีประเพณีกินข้าวแลงขันโตก การแสดงแสง สี เสียง แบบภูมิปัญญาท้องถิ่น ชมการแสดงเหตุการณ์จำลองขบวนอพยพไท – ยวน
จากอำเภอเชียงแสนทางเรือ จากนักแสดงไท – ยวน หนองโน และร่วมสนุกกับวงดนตรีย้อนยุค
งานกลางคืนนายฮ้อยไม่สามารถไปเก็บภาพมาได้เพราะติดภารกิจพ่อลูกอ่อน ต้องขออภัยด้วยครับ
18/30 หนูจะโยนได้ไหม
ผมได้เก็บภาพรอบๆงานไปเรื่อย อาจจะมาได้ไม่หมด ได้แค่คัดๆมาเท่านั้น รวมถึงแคนดิตน้องหนูคนนี้
มองดูบาตรที่สูงแล้วคงคิดในใจละว่า แล้วหนูจะโยนข้าวหลามเข้าบาตรไหมหน่อ
19/30 ย้อนกลับ 1 วัน
ก่อนที่จะมีข้าวหลามมาใส่บาตรในวันนี้ นายฮ้อยขอย้อนกลับไปในวันที่ชาวบ้านหมู่บ้านหนึ่งแห่งตำบลหนองโนเพื่อไปดูการทำข้าวหลามจี่กัน
ตำบลหนองโนมีอยู่ด้วยกัน 11หมู่บ้านหนึ่งนั้นก็คือ หมู่ 7 บ้านแถว ผมพบกับ “ป้ามาลัย” ผู้ใหญ่บ้านหญิง ชึ่งเป็นผู้นำในการเตรียมข้าวหลามของหมู่บ้านแถวหมู่7 นี้
20/30 กระทิงแดง Makita
“ไม่ต้องไปถ่ายกลุ่มนั้นไอ้หนุ่ม มันข้ามขั้นตอน” ป้ามาลัยเสียงดังขึ้นมาทันทีเมื่อผมจอเลนส์ไวด์เข้ากับกลุ่มมือมีดที่กำลังนั่งปลอกข้าวหลามอยู่
“ต้องเริ่มจากตัดไม้ไผ่นี้ก่อนเลย” แก่ชี้ไปยังลุงนั่งตัดไม้ไผ่เพื่อที่จะทำเป็นป้องข้าวหลาม จากลำไม้ไผ่หนึ่งต้นสามารถทำเป็นข้าวหลามได้หลายกระบอก
ป้ายังบอกว่าต้องคัดกระบอกที่มีขนาดเท่ากันเพื่อความสวยงาม ส่วนต้นไผ่นั้นหรือต้องเลือกอย่างไร แก่บอกว่าเอาที่ไม่อ่อนไม่แก่นะไอ้หนุ่ม
แก่ให้ข้อมูลแน่นจริง...ฮาๆๆ....แก่บอกล้อเล่นคือไม่แก่ไม่อ่อนก็อายุประมาณไม่เกินปีนะ เมื่อก่อนนี้ใช้มีดอีโต้นี้ละตัด
หลังๆต้องแข่งกับเวลาใช้เลื่อยอย่างที่เห็น แต่ถ้าเอาเร็วก็ Makita เลื่อยไฟฟ้าข้างๆนั้นเลย
21/30 ไม่มีตะขาบเด้อ
“การันตี...ข้าวหลามบ้านแถวไม่มีตะขาบหรือคางคกจ้า” ป้าแก่ยกกระบอกข้าวหลามให้ผมดูเพราะที่นี้ดูแลเป็นพิเศษ
หลังจากตัดไม้แล้วแต่ละกระบอกจะถูกแช่น้ำไว้เพื่อให้อิ่มน้ำอยู่เสมอเมื่อเผาแล้วจะได้ไม่ข้าวจะได้ไม่แห้ง
22/30 สูตรดั้งเดิม
คงเคยกินข้าวหลามหนองมนกันนะครับ เนื้อข้าวจะเหนียวเหมือนต้มข้าว แต่ที่หนองโนสุตรโบราณดั้งเดิมข้าวก็ข้าวเห็นเป็นเม็ดนี้ละ
มีถั่วดำเสริมรสชาติ (ต้องขออภัยเป็นอย่างสูง และผิดพลาดเอามากๆ สำหรับเรื่องราวในครั้งนี้เพราะไม่มีภาพข้าวหลามจะๆเลยสักภาพ
เป็นเพราะนายฮ้อยนั่งโชยกินหมดเลย ครั้งจะกลับไปใหม่ก็หมดชะแล้ว) ชึ่งสูตรลับสูตรเด็ดก็ไม่มีอะไรมาก ข้าว น้ำตาล ถั่วดำ น้ำกะทิ
อัตราส่วนนั้นหรือ ป้ามาลัยบอกผมชะละเอียดเลย....แต่หัวสมองนายฮ้อยจำได้ชั่วไม่ก็นาทีเอง กลับมายังนั่งนึกอยู่เลยว่าป้าแก่บอกอะไรไป
เลยคิดว่าครั้งหน้าเวลาออกไปถ่ายภาพแนวนี้จะต้องติดตัวอัดเสียงเล็กๆไปด้วย ครั้งจะจดบันทึกก็คงไม่ได้รายละเอียดพอจะเสียเวลาบันทึกภาพเปล่าๆ
23/30 กรอกข้าว
ข้าวเหนียวที่แช่น้ำไว้ทั้งคืน ผสมด้วยน้ำตาล ถั่วดำ และน้ำกะทิ ถูกกรอกลงไปในกระบอกไม้ไผ่ที่คัดมาอย่างดีให้เต็มพอประมาณ
ด้วยมืออันช่ำซองของเหล่าแม่บ้านบ้านแถวหมู่ 7 ชึ่งแต่ละคนรับหน้าที่เฉพาะอย่างไป แม้แต่จุกปิดกระบอกที่ทำจากใบตองมัดรวมกันก็มีแม่บ้านฝีมือดีนั่งทำ
อย่างไม่รู้จัดเหน็ดเหนื่อย แก่บอกกับผมว่าต้องทำให้แน่นและทำไว้หลายขนาดจะได้เข้ากับกระบอกไม้ไผ่พอดี
24/30 เตรียมเผา
“เป็นอย่างไรครับกระบอกข้าวหลามบ้านแถว หนองโนหล่อไหม” ก่อนที่จะนำไปเผาก็เรียงให้เป็นระเบียบอย่างนี้ละ
ป้าแก่บอกว่าสมัยก่อนการเผาก็ทำกันง่ายๆ โยนเข้ากองไฟเลยก็มี ทำกองฝางสุมไฟก็มี จะดีหน่อยก็เอาไม้ไผ่ลำยาวตั้งยันไว้ แล้วเอากระบอกข้าวหลามมาเรียงกัน
ก่อไฟข้างๆ แต่ก่อนผมก็เห็นเป็นอย่างนั้นนะ แต่ที่หนองโนมีนวัตกรรมใหม่ ไม่ต้องทำกองไฟให้มีควันให้แสบจมูก
25/30 เตาเผา...หนองโน
นี้ละครับ........เตาเผาข้าวหลามแห่งหนองโน ใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตรตัดส่วนบนเป็นฝาครอบ ส่วนล่างทำตะแกรงวางกระบอกข้าวหลาม
ด้านล่างเจาะเอาเตาถ่านเอาเข้ามาใส่ ชาวหนองโนการันตีเลยครับ สุกทั่วกระบอก ไม่มีไหม้ กระบอกนี้สวยงาม กำลังผลิตมากขึ้นกว่าเดิม
ควันโขมงนั้นแทบจะไม่มี เรียกได้ว่าสามารถควบคุมทั้งคุณภาพและปริมาณได้เป็นอย่างดี ผมเห็นผมยังอึ้งเลย เขาจี่ข้าวหลามกันอย่างนี้ละ
สังเกตที่ฝาบนมีเขียนว่า 4-10 เป็นตัวตั้งเวลาครับ เริ่มเผา 4โมงเย็น กับ อีก 10 นาที ให้ผ่านไปอีกครึ่งชั่วโมงให้เปิดฝาเพื่อกลับด้านกระบอกข้าวหลาม
แล้วปิดฝา นับไปอีกครึ่งชั่วโมงก็ถือว่าสุกพอดี โฮ้..มีแผนกจับเวลา มีแผนกกลับกระบอกเชียวนะ เพราะงานนี้งานใหญ่ต้องขายปริมาณมาก
ป้าแก่บอกว่าแต่ละหมู่บ้านจะได้รับโควตาจาก อบต. ว่าจะต้องผลิตส่งไปร่วมงานเท่าไหร่ และแต่ละหมู่บ้านก็จะผลิตเอาไว้ขายเองในงานด้วย
ได้เตาหนองโนชุดนี้ งานนี้ไม่มีล้ม เขาจึงจัดงานใหญ่ๆอย่างนี้ได้สบายคราบบ...
26/30 เตาถ่าน
อ้าวดูเตาถ่านด้านล่างครับ แผนกเตาก็มีหน้าที่ดูถ่านให้ไฟแรงอย่างนี้ตลอดเวลา
27/30 แผนก Packing
เมื่อข้าวหลามสุกได้ที่ก็ถึงแผนกสุดท้ายแล้วละ นั้นก็คือเฉาะปอกเปลือกไม้ไผ่ออก แผนกนี้จะช้าหน่อยเพราะต้องใช้ฝีมือของแต่ละบุคคลทำที่ละกระบอก
แต่ป้าก็ก็แก้ปัญหาได้ดีครับ โดยใช้คนจำนวนมากมาประจำหน่วยงานนี้ กำลังผลิตแต่ละเครื่องจะน้อย ถ้าจะเพิ่มกำลังการผลิตก็ต้องเพิ่มเครื่อง...ฮา..ง่ายอย่างนี้ละ
28/30 Finished goods
ตีตราว่าเป็นข้าวหลามมีสัญชาตินะไม่มั่วนิ่มจากที่อื่น เป็นอย่างไรครับข้าวหลามหนองโน มีที่มาอย่างนี้ละ มีคนถามมาว่าข้าวหลามจี
คำว่าจี่คืออะไร ผมก็ถามมานะ เพราะก็สงสัยเหมือนกันข้าวหลามก็น่าจะเป็นข้าวหลามนี้ละทำไมเอาคำว่าจี่มาด้วย คำว่าจี่ มาจากคำว่า ปิ้ง ย่าง นี้ละ
เหมือนที่เราเคยกิน ข้าวเหนี่ยวจี่ ข้าวหลามจี่ก็คือเอาข้าวใส่กระบอกนำมาย่าง(เผา)ไฟหรือจี่ไฟครับ ตรงๆอย่างนี้ละ
อย่างที่บอกไปครับภาพข้าวหลามพร้อมรับประทานนั้นไม่มีครับ นายฮ้อยเก็บเรียบจนลืมถ่ายภาพมา ผมอุดหนุนข้าวหลามบ้านแถวมา 3 ถุง ถุงละ 3 กระบอกราคา
ถุงละ 100 บาท แต่บอกได้เลยว่าอร่อยคุ้มราคาที่แพง และมีกินแค่ปีละครั้งครับ แถมได้ร่วมตักบาตรทำบุญด้วย
29/30 ขอบคุณ
ขอขอบคุณ ผู้ใหญ่บ้าน ลูกบ้านบ้านแถว หมู่ 7 และชาวหนองโนทุกท่าน ที่ให้ผมถ่ายภาพในครั้งนี้ ด้วยภาพนี้ครับ
เป็นประสพการณ์อีกครั้งของนายฮ้อยที่ได้ลงพื้นที่เก็บภาพมาฝากชาวบั๊ก ภาพอาจจะกระโดดไปกระโดดมาเพราะเป็นหลายช่วงเวลากัน
ข้อมูลที่ได้อาจจะไม่ครบบ้าง หรือคลาดเคลื่อนไปนายฮ้อยก็ขออภัยไว้ณ. ที่นี้ด้วยครับ
30/30 ท้องทุ่งหนองโน
ครับคงจบเพียงเท่านี้สำหรับ ตักบาตรข้าวหลามจี่ หนองโน ตำบลหนองโนมีอาชีพหลักก็ทำนาครับ ก่อนที่ผมจะเข้าไปถ่ายภาพผมก็ไปดูพื้นที่รอบๆของตำบลหนองโน
ช่วงนี้เขาก็กำลังทำนาหว่านกันอยู่ ลาด้วยภาพท้องทุ่งหนองโนครับ
ตอบกลับ 39# is_viwut
ขอบคุณครับอีส
ยินดีต้อนรับสู่ fotoBUG (http://www.fotobug.net/forum/) | Powered by Discuz! 7.2 |